อำเภอเมือง

คำขวัญอำเภอ ก้าวสู่เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ ถนนปรมินทรมรรคา ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000

หมายเลขโทรศัพท์ 0-7751-1214, 0-7750-3725

หมายเลขโทรสาร 0-7750-3725

ประวัติความเป็นมา

อำเภอเมืองชุมพรเดิมเรียกว่า “อำเภอท่าตะเภา” ย้อนหลังลงไปเรียกว่า “เมืองชุมพร” และก่อนเมืองชุมพรเรียกว่า “บ้านประเดิม” เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประมาณระหว่างปีพ.ศ.1820 ถึง ปีพ.ศ.1860 จะเห็นได้ว่าอาณาเขตสมัยนั้นแผ่ออกไปกว้างขวางมาก ทั้งทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทางทิศใต้กล่าวถึงเมืองสุวรรณภูมิ คือเมืองอู่ทองกับเมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรีและเมืองนครศรีธรรมราช ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตอนนั้นยังไม่มีจารึกชื่อเมืองชุมพร จึงเป็นไปได้ว่าเมืองชุมพรคงยังไม่มี แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 มีเมืองชุมพรปรากฏอยู่ในกฎหมายนั้นแล้ว ดังนั้นจึงพอที่จะอนุโลมได้ว่าเมืองชุมพรคงจะมีมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยากับ ต้นสมัยรัตนโกสินทร์

ตามที่กล่าวมานั้นจึงพอจะกล่าวได้ว่า อำเภอเมืองชุมพรคงจะเป็นตำบล อำเภอ และเมืองชุมพรมาตามลำดับ แต่จะกำหนดให้แน่ชัดว่าจากสมัยใดนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด

ภูมิศาสตร์

อยู่บริเวณส่วนกลางของจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นบริเวณคอคอดกระ ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย มีพื้นที่ 748.39 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ อำเภอท่าแซะและอำเภอปะทิว

ทิศใต้ อำเภอสวี

ทิศตะวันออก อ่าวไทย

ทิศตะวันตก อำเภอกระบุรี (จังหวัดระนอง)

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอเมืองชุมพรมีเนื้อที่ประมาณ 748.39 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศของอำเภอชุมพรเป็นเทือกเขาด้านตะวันตก พื้นที่ลอนลาดกับที่ราบในตอนกลางและด้านตะวันออก เหมาะสำหรับทำการเกษตร พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำสายสำคัญ3สายของอำเภอ ที่ไหลไปทางตะวันออกตามสภาพลาดเอียงของพื้นที่ลงสู่ทะเล คือแม่น้ำท่าตะเภา คลองชุมพรและคลองวิสัย พื้นที่ตอนกลางเป็นลูกคลื่นลอนลาดและลูกคลื่นลอนชัน สลับกันไป เป็นเขตที่มีการเพาะปลูกผลไม้และไม้ยืนต้น ที่พื้นที่ด้านตะวันออกเป็นที่ราบและที่ราบลุ่ม มักจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี

ลักษณะภูมิอากาศ

อำเภอเมืองชุมพรเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสาเหตุให้มีฤดูกาลเพียง2ฤดูคือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม โดยในช่วงนี้ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – มกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ เป็นมวลอากาศที่มีความชื้นสูง ดังนั้นเมื่อปะทะแนวเทือกเขาตะนาวศรีจึงทำให้เกิดฝนตกชุกตลอดพื้นที่ของ อำเภอ

ข้อมูลการปกครอง

อำเภอเมืองชุมพรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 17 ตำบล 161 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลปากน้ำ 10 หมู่บ้าน

ตำบลถ้ำสิงห์ 6 หมูบ้าน

ตำบลบางหมาก 12 หมู่บ้าน

ตำบลนาทุ่ง 7 หมู่บ้าน

ตำบลตากแดด 9 หมู่บ้าน

ตำบลท่ายาง 11 หมู่บ้าน

ตำบลบางลึก 12 หมู่บ้าน

ตำบลนาชะอัง 9 หมู่บ้าน

ตำบลวังไผ่ 13 หมู่บ้าน

ตำบลวังใหม่ 9 หมูบ้าน

ตำบลขุนกระทิง 8 หมู่บ้าน

ตำบลวิสัยเหนือ 12 หมู่บ้าน

ตำบลหาดพันไกร 12 หมู่บ้าน

ตำบลบ้านนา 13 หมู่บ้าน

ตำบลทุ่งคา 11 หมู่บ้าน

ตำบลหาดทรายรี 7 หมู่บ้าน

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

อาชีพหลัก เกษตรกรรม พาณิชย์และการบริการ

อาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างทั่วไป

มีธนาคารทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่

ธนาคารออมสิน สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7750-4828 ธนาคารออมสินสาขาปากน้ำชุมพร   โทรศัพท์ 0-7750-1259ธนาคารทหารไทยสาขาชุมพร   โทรศัพท์  0-7750-2545 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์  0-7757-6566-9 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7750-3043 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยสี่แยกปฐมพร  โทรศัพท์ 0-7751-1078 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7751-1380 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาปากน้ำชุมพร  โทรศัพท์ 0-7752-1013 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7750-3067-9 ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7750-1060 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7751-1050 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าตะเภา  โทรศัพท์ 0-7750-3395 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสี่แยกปฐมพร  โทรศัพท์ 0-7750-2926ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7751-1854  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาปากน้ำชุมพร  โทรศัพท์ 0-7752-1460 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสี่แยกปฐมพร  โทรศัพท์ 0-7750-4966ธนาคารไทย ธนาคา จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7757-0259 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาชุมพร  โทรศัพท์ 0-7750-1051

ห้างสรพพสินค้า 1 แห่ง

ด้านสังคม

โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนศรียาภัย โรงเรียนสะอาดเผดิมวิทยา โรงเรียนทุ่งคาพิทยาคาร  โรงเรียนเมืองชุมพรวิทยโรงเรียนปากน้ำชุมพรวิทยา

ทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญ

อำเภอเมืองมีพื้นที่ที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติดังนี้ พื้นที่ป่าสงวน 198,086 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลน 34,124 ไร่ เขตรักษาพันธ์ สัตว์ป่า 85,000 ไร่ อุทยานแห่งชาติ 94,000 ไร่ รวมพื้นที่ป่าทั้ง หมด 411,210 ไร่เกาะ จำนวน 10 แห่ง ในจำนวนนี้มีเกาะรังนก 5 แห่ง ด้วยกันดิน มีลักษณะเป็นดินร่วน ดินทราย และดินเหนียวแร่ธาตุ มี 2 ชนิด ด้วยกัน ได้แก่ แร่หินปูน และแร่ทรายแก้วแหล่งน้ำธรรมชาติ มี 3 ลุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำท่าตะเภา มีลำน้ำ สาขา 12 สาย ความยาว 210 กิโลเมตร ลุ่มน้ำชุมพร มีคลองชุมพรเป็นต้น กำเนิด มีลำน้ำสาขา 22 สาย ความยาว 208 กิโลเมตร และลุ่มน้ำสวีเฒ่า มีคลอง วิสัยเป็นลำน้ำสายหลัก ความยาว 93 กิโลเมิตร

ประชากร

จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 137,973 คน

จำนวนประชากรชาย รวม 67,751 คน

จำนวนประชากรหญิง รวม 70,222 คน

ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ 213.53 คน:ตารางกิโลเมตร

การคมนาคม

พื้นที่อำเภอเมือง มี 3 เส้นทางคมนาคม คือ รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 และหมายเลข 41 แยกจากถนนหมายเลข 4 ถนนสี่แยกปฐมพรสถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์ 0-7750-2725สถานีรถไฟ หมายเลขโทรศัพท์ 0-7751-1013

การเกษตรและอุตสาหกรรม

ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลางสาด ยางพารา กาแฟ ปาล์ม มะพร้าว

ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำท่าตะเภา ลุ่มน้ำชุมพร ลุ่มน้ำสวีเฒ่า

โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานทำห้องเย็นและสัตว์น้ำแช่แข็งบริษัท ซีเฟรช อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ที่ตั้ง ม.8 ต.ปากน้ำ

โรงงานผลิตอาหารทะเลกิ่งสำเร็จรูป แซมดีฟาร์ม ที่ตั้ง ม.1 ต.ทุ่งคา

โรงงานผลิตเสาเข็มคอนกรีตพื้นสำเร็จรูปทุ่งคาคอนกรีต ที่ตั้ง ม.5 ต.ทุ่งคา

อ้างอิง http://www.chumphon.go.th/2013/page/ampher_mueang

Leave a comment